ความเป็นมาและรายละเอียดโครงการภูมิพลังแห่งปัญญาราชมงคลศรีวิชัยกับการจัดการความรู้

                    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยจัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ทั้งระดับหลักสูตร ระดับคณะ / วิทยาลัย และระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งมีการลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการความรู้ระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิต    พัฒนศิลป์ และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยคณะกรรมการบริหารเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จะดำเนินการคัดเลือกและนำเสนอแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) จากกระบวนการและระบบการปฏิบัติงานของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเรียนการสอน คุณภาพบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ และการพัฒนาสถาบันและบุคลากร เพื่อเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามโครงการสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (RMUT+2 KM Network Sharing) ในทุกปีการศึกษา
                    อีกทั้งการดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 9 CoP (Community of Practice) เพื่อนำเสนอแนวคิด / หลักการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติโดยวิธีการเล่าเรื่อง (Storytelling) สกัดขุมความรู้และจัดการคลังความรู้เป็นแก่นความรู้ ได้แก่

    CoP ที่ 1 : การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต
    CoP ที่ 2 : งานวิจัยและงานสร้างสรรค์
    CoP ที่ 3 : การบริการวิชาการ
    CoP ที่ 4 : การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
    CoP ที่ 5 : การบริหารจัดการ
    CoP ที่ 6 : การประกันคุณภาพการศึกษา
    CoP ที่ 7 : การพัฒนานักศึกษา
    CoP ที่ 8 : การดำเนินการของสายสนับสนุน
    CoP ที่ 9 : องค์ความรู้ก่อนเกษียณ

                    โครงการนี้เป็นการนำแนวคิดจากการจัดการความรู้ (Knowledge Management) พัฒนาคุณภาพภายในมหาวิทยาลัย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) เป็นการลดระยะเวลาที่ใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเนื่องจากเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้ที่ทำได้สำเร็จแล้ว ด้วยการประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรของตนเองและเป็นการพัฒนาคุณภาพที่มีประสิทธิผลต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นการรวบรวมผลงานแนวปฏิบัติที่ดี จัดเก็บและเผยแพร่เป็นคลังความรู้ ตลอดจนยกย่อง เชิดชู บุคลากรที่มีแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

  1. เพื่อค้นหาผู้ที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เป็นตัวแทนของ มทร.ศรีวิชัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ 9 ราชมงคลและ 2 สถาบัน ตลอดจนเวทีในระดับชาติอื่นๆ
  2. เพื่อเป็นเวทีให้บุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามพันธกิจหลักและบริหารจัดการ ตลอดจนการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดี
  3. เพื่อยกย่อง เชิดชู บุคลากรที่มีแนวปฏิบัติที่ดี อันนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับหน่วยงานภายในและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

  ระดับผลผลิต  :
          - อย่างน้อยร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
          - เกิดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ และ นำผลที่ได้ไปนำเสนอในโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
          - มีผลงานในการนำเสนอทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ อย่างน้อย 15 หน่วยงาน คณะ/วิทยาลัย หน่วยงานละอย่างน้อย 2 ผลงาน ทั้งอาจารย์/บุคลากรสายสนับสนุน และนักศึกษา
ระดับผลลัพธ์ :
           - ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อยู่ในระดับมาก
           - มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีระหว่างบุคลากรและหน่วยงานภายใน

  1. มีผู้ที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เป็นตัวแทนของ มทร.ศรีวิชัย ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการ KM เครือข่าย 9 ราชมงคลและ2สถาบัน
  2. มีเวทีให้บุคลากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามพันธกิจหลักและบริหารจัดการ
  3. มีแนวปฏิบัติที่ดีนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในระดับหน่วยงาน